000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > คลื่นสังหาร (รู้แล้วจะเสียวสยอง)
วันที่ : 02/06/2016
12,590 views

คลื่นสังหาร (รู้แล้วจะเสียวสยอง)

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

โทรศัพท์มือถือของคุณอาจไม่ใช่ตัวการที่ก่อมะเร็งต่อคุณ แต่การอยู่ในทะเลแห่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามันอาจมีอันตรายแม้น้อยนิด และวิทยาศาสตร์ก็เพิ่งเริ่มต้นรับรู้ว่ามันมีผลต่อพวกเราอย่างไร

          เพอ ซีเกอร์แบ็ก (Per Segerback) อาศัยอยู่ในกระท่อมเล็กพอตัวท่ามกลางธรรมชาติห่างออกไปทางตอนเหนือของกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน สุนัขป่า กวางมอส และหมีสีน้ำตาล เดินไปมาอย่างอิสระสบายใจอยู่หน้าประตูกระท่อมของเขา เขาค่อนข้างเก็บตัว จะพบปะกับผู้คนน้อยที่สุด เนื่องจากเทคโนโลยีที่ผู้คนใช้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจะทำให้เขาป่วย  ป่วยอย่างไรหรือ...?

          ฤดูร้อนล่าสุดที่ผ่านมา ขณะที่เขาเดินไปพบกับเพื่อนบ้านคนหนึ่ง (ปกติก็มีน้อยอยู่แล้ว) ที่อาศัยอยู่ในกระท่อมเช่นกันห่างออกไปประมาณ 100 หลา ขณะที่กำลังทักทายกัน โทรศัพท์มือถือของชายคนนั้นดังขึ้น เพอ ซีเกอร์แบ็ก วัย 54 ปีรู้สึกคลื่นไส้ และภายในไม่กี่วินาทีเขาก็หมดสติ

          เพอ ซีเกอร์แบ็ก ทุกข์ทรมานจากโรค ESH ( Electro-Hyper Sensitivity ) คือโรคที่เกิดจากการอ่อนไหวยิ่งยวดต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่า เขาจะมีปฏิกิริยาทรุดลงทันทีต่อการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเทคโนโลยีเครื่องใช้ ไฟฟ้าพื้นๆในบ้านไม่ว่าจากคอมพิวเตอร์ ทีวี และโทรศัพท์มือถือ

          อาการที่ปรากฏมีตั้งแต่ การไหม้หรือซ่าที่ผิวหนังจนถึงตาลาย , วิงเวียนศีรษะ , หน้ามืด , คลื่นเหียน , ปวดศีรษะ , นอนกระสับกระส่ายและสูญเสียความทรงจำ ในกรณีร้ายแรงสุดๆอย่าง เพอ ซีเกอร์แบ็ก จะมีปัญหาการหายใจ , หัวใจเต้นสั่นระริก จนถึงสลบเหมือดคาที่

          กรณีของโทรศัพท์มือถือ ขณะใช้งานไม่ว่าโทรออกหรือรับเข้าหรือกำลังกวาดหาสัญญาณ ซึ่งทั้ง 3 กรณี จะเป็นช่วงที่คลื่นจากโทรศัพท์ส่งออกมาแรงสุด ซึ่งถึงระดับนี้จะส่งผลต่อ เพอ ซีเกอร์แบ็ก ให้มีอาการดังกล่าวแล้ว โทรศัพท์มือถือแม้เปิดเครื่องทิ้งไว้ แต่ถ้าไม่โทรออกหรือไม่มีสายเรียกเข้า ปกติมักจะส่งคลื่นมีความแรงไม่พอที่จะรู้สึกอะไรได้ มันไม่ใช่เสียงกริ่งของโทรศัพท์ที่ถล่มเขา เขาจำได้ว่า ครั้งหนึ่งขณะที่เขาไปล่องเรือเล่นกับเพื่อนๆตัวเขายืนอยู่บนดาดฟ้าเรือด้านหน้า ทันใดนั้น ที่ใต้ดาดฟ้าเรือมีใครคนหนึ่งใช้โทรศัพท์ขึ้นมา ผลคือเขาปวดศีรษะ , คลื่นไส้ปั่นป่วน และสลบเหมือดไป

          เมื่อไรก็ตามที่ เพอ ซีเกอร์แบ็ก เข้าไปอยู่ในรัศมีของโทรศัพท์มือถือที่กำลังถูกใช้งานอยู่ เขาจะมีความรู้สึกว่า ที่ว่างในกะโหลกของเขาเล็กเกินไปสำหรับสมอง (สมองเหมือนบวมออก...?) ระยะปลอดภัยจากคลื่นกวนนี้ ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ , รุ่น ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้

          สวีเดนเป็นประเทศเดียวในโลกที่ตระหนักถึงอาการ EHS ต่อการสูญเสียการทำงานและประสบการณ์ของ เพอ ซีเกอร์แบ็ก ก็มีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายที่จะจัดการกับเงื่อนไขนี้ประชากรชาวสวีเดนที่ต้องทุกข์ทรมานจาก EHS มีประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากร หรือมีจำนวนมากถึง 250,000 คน (ตามสถิติของรัฐบาล) ที่ได้รับการจัดเข้า อยู่ในกลุ่มสวัสดิการเหมือนคนตาบอดหรือหูหนวก ปัจจุบันนี้ หน่วยงานในท้องถิ่นจะต้องจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ที่ตรวจแล้วพบว่ามีอาการ EHS ถ้าจำเป็นอาจถึงขั้นต้องมีการติดตั้งแผ่นโลหะป้องกันคลื่นรอบบ้าน

ทะเลแห่งคลื่น

          สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic Field หรือ EMF ) เป็นสิ่งที่เราหนีไม่พ้น พวกเราจะถูกถล่มด้วย EMF ตลอดเวลา ส่วนใหญ่ในรูปคลื่นแม่เหล็กความถี่ต่ำยิ่งยวด ( Extremely Low-Frequency หรือ ELF ) จากเครื่องใช้ไฟฟ้า ในบ้านและจากสายไฟบ้าน (AC) หรือจากคลื่นความถี่สูง ( Radio-Frequency หรือ RF ) จากพวกโทรศัพท์มือถือ , โทรศัพท์บ้านไร้สาย , เสาอากาศสื่อสาร(จากเซลล์ไซด์ของเครือข่ายมือถือ) , จากเสาส่งวิทยุและทีวี แม้แต่ร่างกายของเราเองก็ยังผลิตคลื่น EMF แผ่วๆออกมาจากการทำงานด้านไฟฟ้าของสมองและหัวใจ

          การแผ่กระจายคลื่นแบบประจุ ( Ionizing Radiation ) จากเครื่อง X-ray , เครื่องตรวจร่างกาย CT สแกน , จากระเบิด ปรมาณู พวกนี้มีผลทำลายร่างกายอย่างร้ายแรง เราจัดมันอยู่ในกลุ่ม “สิ่งก่อมะเร็ง” แต่คลื่น ELF และ RF เป็นการแผ่แบบ ไม่มีการแตกตัวของประจุ ( Non-Ionizing ) ซึ่งคิดกันว่าไม่น่าจะมีอันตรายอะไร

          การกระจายคลื่นแบบไม่มีการแตกตัวของประจุ ( ELF และ RF ) จะไม่มีพลังมากพอที่จะตัดขาดการเชื่อมกันของโมเลกุลได้มันจึงไม่สามารถก่อให้ความเป็นเซลล์แตกสลายโดยตรง อันจะนำไปสู่การเกิดเชื้อโรคร้ายได้ การแผ่กระจายคลื่นในลักษณะนี้มีอยู่ทุกหัวระแหง อย่างที่ จอห์น บอยซ์ (John Boice ) ศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัย แพทย์ศาสตร์ Vanderbitt และผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของ International Epidemiology Institute (บริษัทวิจัยด้าน ยาไบโอ) ใน Rockville มลรัฐแมรี่แลนด์ กล่าวว่า “พวกเราถูกอาบด้วยทะเลแห่งการแผ่คลื่นแบบไม่มีการแตกประจุ”

          นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า “ทะเล” นี้ ไม่มีอันตรายอะไร พวกเขาอ้างว่า โทรศัพท์มือถือปลอดภัย และอาการอย่าง EHS ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากสนามแม่เหล็ก (EMF) ที่เกี่ยวข้องด้วยมันอ่อนเกินไปกว่าจะมีผลต่อ สุขภาพได้ และไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่า คลื่นจากโทรศัพท์มือถือมีผลต่อร่างการมนุษย์อย่างไร นอกจากทราบกันดีทั่วไปว่า คลื่นแบบไม่แตกประจุอย่างนี้ แค่ทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้ๆร้อนขึ้น (น้อยมาก)

          องค์กร FCC ( Federal Communications Commission ) กำหนดข้อจำกัดด้าน EMF ต่อโทรศัพท์มือถือเป็นค่า SAR (Specific Absorption Rate ) ที่ต่ำจนไม่เกิดความร้อนขึ้น นักวิจัยหลายคนกล่าวว่า อาการของ เพอ ซีเกอร์แบ็ก และคนอื่นๆที่ทรมานต่อ EHS อาจมาจากการวินิจฉัยโรคผิดหรือคิดไปเอง

          ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่าคนอย่าง เพอ ซีเกอร์แบ็ก อาจจะทุกข์ทรมานจากอาการไม่ปกติจากจิตเวช หรือกรณีของเขาอาจแสดงให้เห็นผลของการหลอกตัวเอง (Nocebo) โดยคิดไปเองว่ามีอะไรบางอย่างจะทำให้คุณป่วยแล้วคุณก็ป่วยตามที่คิดจริงๆ มีบททดสอบตีพิมพ์ในวารสาร Bioelectromanetics ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว บทหนึ่งที่กล่าวว่า พบว่าไม่มีประจักษ์พยานว่าการอ่อนไหวยิ่งต่อคลื่นของแต่ละคน ช่วยให้พวกเขามีความสามารถรับรู้การมีอยู่ของ EMF ดีขึ้น และการศึกษานี้ได้พบพยานหลักฐานว่าเป็นผลของการหลอกตัวเอง ( Nocebo ) ในกลุ่มคนพวกนั้น

          การจัดวางตำแหน่งเกี่ยวกับข้อถกเถียงนี้ของอุตสาหกรรมมือถือค่อนข้างชัดเจน “มีการทดสอบเพื่อหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายล้นหลามที่ชี้ชัดว่า อุปกรณ์ไร้สายไม่ก่อความเสี่ยงต่อสุขภาพประชาชน” จอห์น วอลล์ ( John Walls ) ซึ่งเป็นรองประธานขององค์กรสาธารณะ CTIA กล่าว (เป็นองค์กรเกี่ยวกับไร้สายและเป็นแกนของอุตสาหกรรมด้านนี้)

          นอกจากนั้น ยังไม่มีกลไกเกี่ยวกับ EMF (เมื่ออยู่ในขีดที่กำหนดโดย FCC ) ที่จะก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพ มีหลายหน่วยงานหลัก รวมทั้งหน่วยงานด้านอาหารและยา ( F&D) ของสหรัฐฯ , ICNIRP ( International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection ) , สมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐฯ (American Cancer Society ) , และ WHO ( World Health Organization ) โดยองค์กรและหน่วยงานทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เห็นด้วยกับความเห็นนี้ (ถึงแม้ว่า ICNIRP จะกล่าวว่าควรมีการทดสอบด้านวิทยาศาสตร์ต่อไปเกี่ยวกับอุปกรณ์ไร้สายว่ามีผลต่อสุขภาพหรือไม่ ไม่ควรยึดเพราะเทคโนโลยีด้านนี้พัฒนาไปเร็วและแผ่ขยายไปกว้างขวาง)

          จอห์น บอยซ์ ชี้ว่า ข้อมูลจากผู้ลงทะเบียนเช่น จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ( National Cancer Institute ) ตามโครงการ SEER ของสถาบันจะแสดงให้เห็นว่า อัตราคนเป็นมะเร็งในสมองไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 แล้วแนวโน้มก็ ถือว่าราบเรียบจากกลางทศวรรษ 1970 ถึงต้นปี 2000 ในเดนมาร์ก , ฟินแลนด์ , นอร์เวย์ และสวีเดน ที่ซึ่งมีการใช้โทรศัพท์ มือถือมายาวนานกว่าในสหรัฐฯ ถ้าโทรศัพท์มือถือก่อให้เกิดมะเร็งสมอง สถิติรายงานก็น่าจะพุ่งพรวดขึ้น จอห์น บอยซ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ถ้าคุณดูการศึกษาด้านชีววิทยาและการทดลองจะเห็นหลักฐานมากมายที่ระบุว่า ไม่มีความเกี่ยวพันกันระหว่างโทรศัพท์มือถือและโรคร้าย”

มันรู้สึกอย่างไร

          เพอ ซีเกอร์แบ็ก เคยเป็นวิศวกรด้านโทรคมนาคมระดับหัวกะทิ เขาเคยทำงานกับบริษัท Ellemtel ซึ่งเป็นสาขาหนึ่ง ของอีริคสัน ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของสวีเดนมากกว่า 20 ปี เขาเป็นหัวหน้าทีมวิศวกรออกแบบวงจรหน่วยรวมที่ก้าวหน้าสำหรับระบบโทรคมนาคมต้นแบบ เขาใช้คอมพิวเตอร์ที่ใหม่ล่าสุด และทันสมัยที่สุด พรั่งพร้อมด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดเท่าที่จะหาได้เป็นอุปกรณ์ที่เฉพาะอีริคสันและหน่วยงานทางทหารเท่านั้น (ของสวีเดน ) จึงจะเข้าถึงได้ เพอ ซีเกอร์แบ็ก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องจมอยู่กับทะเลคลื่นความถี่สูง ทั้งจากคอมพิวเตอร์ , หลอดนีออน และเสาอากาศสื่อสารที่ติดตั้งอยู่ชิดกับหน้าต่างห้องทำงานของเขา

          เขาสังเกตอาการแรกเริ่มที่ตาลายวิงเวียนศีรษะ , คลื่นไส้ , ปวดศีรษะ , ความรู้สึกพร่ามัวและเกิดตุ่มแดงที่ผิวหนังของเขา นั่นเกิดขึ้นเมื่อปลายทศวรรษ 1980 หลังจากที่เขาทำงานวิจัยด้านโทรคมนาคมมา 10 ปี ผู้ร่วมทีมของเขาประมาณ 20 คน มีอาการแบบเขาเกือบทั้งหมด เหลือแค่ 2 คน แต่ตัวเขาเองจะหนักกว่าเพื่อน อาการทาง EHS ของเขาสาหัสสุด ปัจจุบันแม้แต่เรดาร์จากเครื่องบิน บินต่ำ ก็มีผลรุนแรงต่อเขา เพอ ซีเกอร์แบ็ก มั่นใจว่า พายุ EMF ไร้เทียมทานในที่ทำงานของเขา ผนวกกับสารพิษที่ฟุ้งกระจายจากเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เอี่ยมของเขา เป็นต้นเหตุทั้งหมด เขากล่าวว่า “แพทย์ของบริษัทไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น”

          แอ็กเน เฟรเดอริกสัน ( Agne Frederikson ) ผู้ดูแลทีมของ เพอ ซีเกอร์แบ็ก ที่ Ellemtel และเกษียณออกไปเมื่อปี 2006 กล่าวว่า ตามรายงานปกติคือ “ความรู้สึกว่ามีความร้อนที่ใบหน้าเกิดขึ้นกับทุกคนที่ไปยุ่งกับสถานีคอมพิวเตอร์ใหม่นั้น จนเมื่อสมาชิกในทีมของ เพอ ซีเกอร์แบ็ก เริ่มล้มป่วย รวมทั้งคนที่มาช่วย ซึ่งมาจากหน่วยงานอื่น มีการรายงานว่า มีอาการเดียวกัน นั่นทำให้บริษัทเริ่มเข้ามาดูว่า จะทำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับปัญหานี้ และเริ่มมีความกังวลอย่างมากจากกลุ่มผู้เข้าไปเกี่ยวข้อง และมีรายงานอาการแย่ที่สุด”

          จึงเริ่มมีการจัดที่จัดทางที่จะทำงานใหม่ให้แก่ลูกจ้างที่ส่อว่าจะมีอาการหนัก มีคนประมาณถึง 6 คนใช้ห้องทำงานที่ปิดผนึกกันคลื่นอย่างเต็มที่ ( Shielded Room ) คนอื่นๆถูกสับเปลี่ยนไปยังสถานีคอมพิวเตอร์ที่ต่างๆออกไป บ้างก็ถูกจัด ตารางการทำงานต่อหน้าจอคอมพิวเตอร์ของพวกเขาให้น้อยลง ไม่มีใครเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน แอ็กเน่ เฟรเดอริกสัน ถึงกับอุทานว่า “เป็นแต่กับพวกเราหรือเปล่า” ภายหลังเขาได้ทราบว่า บริษัทอื่นๆก็เจอสถานการณ์เหมือนๆกับในตอนนั้น แม้ว่าเรื่องนี้จะถูกเก็บไว้เป็นความลับภายในบริษัท

          บริษัทอิริคสันเองก็ทุ่มเทเต็มที่ ที่จะรักษาให้ เพอ ซีเกอร์แบ็ก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของทีมวิจัยของบริษัท ให้ยังคงสามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ เมื่อต้นทศวรรษ 1990 ทางบริษัทจัดการปิดผนึกรอบห้องนอนและห้องทำงานของเขาด้วย แผ่นโลหะตลอดทั้งห้องที่บ้านของเขา เพื่อให้เขาสามารถนอนหลับได้ และยังสามารถทำงานได้โดยไม่ถูกรบกวนด้วยคลื่น RF และเพื่อให้เขาออกไปภายนอกได้ ฝ่ายการแพทย์ถึงกับหาสูทให้เขาสวมใส่เพื่อป้องกันคลื่น EMF เป็นเหมือนชุดที่วิศวกรต้องสวมใส่เวลาทำงานใกล้ชิดกับเสาส่งโทรคมนาคม หรือพวกที่ทำงานกับเสาส่งไฟแรงสูงต้องใช้ ทางบริษัทถึงกับลงทุนดัดแปลงรถวอลโวของ เพอ ซีเกอร์แบ็กเพื่อให้เขาใช้เป็นพาหนะขับไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงาน นัยว่าเพื่อความปลอดภัย แต่ความเป็นอิสระในการเดินทางไปไหนมาไหนของเขาต้องสิ้นสุดลง เมื่อเสาส่งโทรคมนาคมผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วกรุงสต็อกโฮล์มในกลางทศวรรษ 1990 ซึ่งเสมือนเป็นการบังคับให้เขาต้องปลีกวิเวกตัวเองไปใช้ชีวิตอยู่ในป่า

          ในปี 1993 บริษัทอีริคสันเสนอรายงานฉบับหนึ่งออกมาชื่อ Hypersensitivity in the workplace (ความอ่อนไหวเกินคาดในที่ทำงาน) โดยกล่าวถึงผลที่เกิดขึ้นในห้องทดลองของ เพอ ซีเกอร์แบ็ก และทีมงาน โดยในบทนำ เออร์แยน แมตต์สัน (Orjan Mattsson) รองประธานของ Ellemtel และหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการจัดการ ทอร์บยอร์น จอห์นสัน (Torbjorn Johnson) เขียนไว้ว่า “ปัญหาใหม่ต่อสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานได้ปรากฏขึ้น (มันคือ) Hypersensitivity เมื่อจัดการด้วยวิธี ปฐมพยาบาลตามสมัยนิยม โดยหลักการแล้วก็น่าจะหาเหตุผลและผลที่เกิดขึ้นที่สัมพันธ์กันได้แต่กับอาการทาง Hypersensitivity  (มันทำไม่ได้) เมื่อเกิดกรณีที่น่ากังวลนี้ในครั้งแรกที่ Ellemtel (เมื่อปลายทศวรรษ 1980) พวกเราไม่ได้ เตรียมตั้งรับ ในไม่ช้าเราก็ตระหนักว่า Hypersensitivity เป็นสิ่งที่น่ากังวลยิ่ง เพราะมันกระทบต่อธุรกิจของเรา เราเริ่มคลาง แคลงใจ หรือว่าเรากำลังเผชิญกับโรคระบาดสมัยใหม่”

          หนึ่งปีให้หลัง บริษัทอีริคสันได้ปิดห้องทดลองที่ เพอ ซีเกอร์แบ็ก และทีมงานของเขาทำงานอยู่และบริษัทได้เลิกจ้าง เพอ ซีเกอร์แบ็ก ในปี 1999 โฆษกของทางอีริคสันได้แถลงว่า “เขาไม่สามารถทำงานตามที่ถูกจ้างให้ทำได้” เพอ ซีเกอร์แบ็ก จึงส่งเรื่องให้ศาลแรงงานของสวีเดนวินิจฉัย แต่เขาก็ต้องพ่ายแพ้ เขายอมรับว่า ไม่มีวิธีที่จะพิสูจน์ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เขาเป็นเช่นนั้น เขากล่าวว่า “มันเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุของอะไร ไม่มีใครพูดว่า อะไรทำให้เราป่วย และมันเป็นไปไม่ได้สำหรับเขาที่จะแสวงหาการรักษาทางการแพทย์ การเดินทางไปยังโรงพยาบาล และต้องไปเจอกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สารพัด มันอาจฆ่าเขาได้”

          อุลริกา แอเบิร์ก (Ulrika Aberg) แพทย์หญิงชาวสวีเดน ผู้เชี่ยวชาญด้าน EHS ซึ่งดูแล เพอ ซีเกอร์แบ็ก ในช่วงเวลาขณะที่เขาเริ่มเป็นและมีอาการใหม่ๆ ต้องดูแลผู้ป่วยอีกมากกว่า 800 คนที่มีอาการ Hypersensitivity เหมือนกัน เธอกล่าวว่า ได้เห็นสเกลขึ้นลงของอาการเหล่านั้น ตั้งแต่นอนกระสับกระส่ายและตาลายวิงเวียนศีรษะ ไล่ไปจนถึงอาการที่ แย่มากขึ้นๆ อย่างที่ เพอ ซีเกอร์แบ็ก ผจญอยู่ เธอกล่าวว่า “มีการตื่นตัวด้านไฟฟ้าต่อทุกๆเซลล์ตลอดเวลา จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ร่างกายทุกส่วนจะต้องมีผลเช่นนี้เหมือนกันหมด”

          สำหรับผู้ที่มีอาการอย่างเบาะๆ อุลริกา แอเบิร์ก แนะนำให้ย้ายพวกเครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้สายทั้งหมดออกไปจากบ้าน ไม่ว่าโทรศัพท์มือถือ , โทรศัพท์บ้านไร้สาย และการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย แต่นั่นก็ยังมีสิทธิ์ถูกรบกวนจากอุปกรณ์ไร้สายของคนอื่นๆอยู่ดี

          ในสวีเดน มีผู้ที่เป็น EHS นับร้อยๆคนที่อพยพหนีทะเลคลื่น พวกเขาต้องเคลื่อนย้ายหนี บางครั้งมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อให้ห่างไกลจากคลื่น EMF โดย อุลริกา แอเบิร์ก เธอได้เล่าให้ฟังถึงผัวเมียคู่หนึ่งที่เป็น Hypersensitivity ซึ่งต้องย้ายตัวเองไปอยู่ในรถบ้าน เพื่อว่า พวกเขาจะได้ขับรถหนีคลื่นได้ทันท่วงที ถ้าพวกเขาเกิดมีอาการขึ้นมา

          นอกจากนี้ อุลริกา แอเบิร์ก ยังได้กล่าวเสริมว่า “EHS เป็นอาการที่ก่อให้เกิดการถกเถียงกันมาก หลายคนไม่ทราบหรือไม่สนใจมัน แต่ก็มีหลายคนที่มีอาการ EHS และพวกเขาไม่รู้สึกปลอดภัยในที่ๆเขาอาศัยอยู่ พวกเราไม่ควรตั้งหน้าตั้งตาผลิตคลื่น EMF ออกมามากๆโดยไม่สนใจว่า มันจะมีผลต่อคนทั่วไปอย่างไร”

เรารู้อะไร

          แหล่งปล่อยคลื่น EMF จากโทรศัพท์มือถือ มาจากตัวเสาอากาศที่ฝังอยู่ภายในตัวเครื่อง เมื่อเราใช้โทรศัพท์และแนบมันอยู่ข้างศีรษะ คลื่นจะแผ่ซึมเข้าสู่สมอง จะซึมเข้าไปตื้นลึกแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่น EMF ยิ่งความถี่สูง ยิ่งซึมตื้น โดยทั่วไปโทรศัพท์มือถือทำงานที่ความถี่ระหว่าง 800-2,200MHz สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทำงานที่ความถี่ต่ำกว่าหน่อย ส่วนเตาไมโครเวฟและเรดาร์ทำงานที่ความถี่สูงกว่า

          การวิจัยเกี่ยวกับ EMFต่อสุขภาพ เริ่มต้นทศวรรษ 1950 เมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นศึกษาการนำไปใช้งานในข่ายทางการแพทย์ และระบบเรดาร์ เมื่อเตาไมโครเวฟออกสู่ตลาดในทศวรรษ 1960 การวิจัยเกี่ยวกับ EMF ก็ถูกกระทำเป็นเรื่องเป็นราวและทำกันอย่างจริงจัง เมื่อจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือออกสู่ตลาดในทศวรรษ 1980

          ไมเคิล รีแพโคลี (Michael Repacholi) ซึ่งเคยเป็นผู้ประสานงานที่องค์การอนามัยโลก (Word Health Organization) แผนกการแพร่คลื่นและสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยแห่งโรมได้กล่าวว่า “คนมักกังวลอยู่กับอุปกรณ์อะไรใหม่ๆทุกชิ้น” ไมเคิล รีแพโคลี นำเสนอโครงงาน EMF นานาชาติของ WHO ในปี 1996 เพื่อตอบสนองการตื่นตัวของสาธารณชน โดยโครงงานได้ข้อสรุปว่า ไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า EMF จากโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งเมื่อกลางทศวรรษ 1990 มีการฟ้องร้องกันสู่ศาลว่า โทรศัพท์มือถือ เป็นสาเหตุให้บางคนเป็นมะเร็งสมอง แต่ก็ต้องแพ้ไป

          โครงการ Interphone ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 13 ประเทศ ทำการศึกษาระหว่างปี 2000 – 2005 ด้วยความร่วมมือของแผนกวิจัยมะเร็งของ WHO ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดการกับเรื่องนี้ให้ชัดเจนว่า “โทรศัพท์มือถือ ก่อมะเร็งสมองจริงหรือไม่” อย่างไรก็ตามผลที่ได้ก็ก่อให้เกิดข้อถกเถียงระหว่างความเชื่อและข้อพิสูจน์ Interphone ได้ขยายเวลาการวิจัยออกไป ซึ่งสาเหตุมาจากการใช้โทรศัพท์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ในการศึกษานี้ไม่รวมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กด้วย เนื่องจากเมื่อต้นปี 2000 ยังมีเด็กๆใช้โทรศัพท์น้อยมาก

          “อคติย่อมมีเสมอกับการศึกษาในลักษณะนี้” คำกล่าวของ เอลิซาเบธ คาร์ดิส (Elisabeth Cardis) จากศูนย์วิจัยสภาพแวดล้อมในบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน (Center for Research in Environmental Epidemiology in Barcelona Spain) และได้กล่าวเสริมอีกว่า “เราพยายามตัดข้ออคติออกตั้งแต่เริ่มต้นให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งหัวข้อและปริมาณที่จะยังเหลืออยู่และทำให้มันเป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุด”

          ผลลัพธ์ยังสรุปไม่ได้ ทีม Interphone ชาวเดนมาร์กท่านหนึ่งศึกษากรณีของเนื้องอกที่มีผลทางเสียงและการฟัง (acoustic neuroma) ซึ่งเป็นข้อผิดปกติทางสมองอย่างหนึ่ง โดยยกมาเป็นกรณีศึกษา 106 กรณี แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความเสี่ยงใดจากการใช้โทรศัพท์มือถือนานๆ แม้จะมีอยู่ 2 กรณีที่ใช่ ทีม Interphone ชาวสวีเดนท่านหนึ่งศึกษา 148 กรณี พบว่า พอจะมีส่วนเสี่ยงอยู่บ้าง

          หลังจากปิดประตูถกเถียงในส่วนของผลลัพธ์จากการวิจัยของ Interphone กันอยู่เป็นปีๆ ในที่สุดก็ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ ซึ่งผลคือ ยังจับหลักสรุปอะไรไม่ได้ ท้ายสุด เอลิซาเบธ คาร์ดิส กล่าวว่า “จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกเพื่อยืนยันผลของ Interphone โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือของเด็กๆ”

สัมภาษณ์ผ่านสายโทรศัพท์

          บทสนทนาตามสายโทรศัพท์ (ความเห็นจากผู้วิจัย) สัมภาษณ์โดย คริสโตเฟอร์ เคตแชม (Christopher Ketcham) และ เดวิด คาร์เพนเตอร์ (David Carpenter) ผู้อำนวยการของสถาบันสุขภาพและสิ่งแวดล้อมและคณบดี/ผู้ก่อตั้ง School of Public Health ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่ Albany เขาเป็นผู้เรียบเรียงรายงาน 2008 Biointiative Report on Cellphone Risk (รายงานชีวภาพมูลฐานด้านความเสี่ยงจากโทรศัพท์มือถือ)

          “จริงๆแล้วเราไม่สามารถพูดชี้ชัดลงไปได้อย่างมั่นใจว่ามีผลเสียต่อมนุษย์อย่างไร แต่บ่งชี้ได้ว่า มันอาจจะเป็น.... ผมใช้คำว่า “อาจจะเป็น”....ผลที่น่ากังวลใจอย่างยิ่ง ความเกี่ยวพันกับโทรศัพท์มือถือที่ชัดเจนที่สุดคือ พยานที่ได้จากการศึกษาในยุโรปเหนือ ที่ซึ่งโทรศัพท์มือถือก่อกำเนิดขึ้นมา และมีการใช้มายาวนานกว่าส่วนใดของโลก นานกว่าในสหรัฐฯ งานศึกษาเหล่านี้ค่อนข้างให้ผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็น ความเสี่ยงต่อมะเร็งในสมองและเนื้องอกในสมอง ต่อประสาทการรับฟังที่มากขึ้นของแต่ละบุคคลที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 10 ปีและเกิดอาการข้างเคียงของศีรษะที่โทรศัพท์แนบอยู่ การศึกษาจากอิสราเอลก็พบเนื้องอกของต่อมน้ำลายข้างหู (Parotid) ในแก้ม เช่นเดียวกันเกิดข้างเดียวกับที่โทรศัพท์มือถือแนบอยู่”

          อัลลัน เฟรย์ (Alan Frey) นักวิทยาศาสตร์ทางประสาทวิทยา เดิมทำงานกับ GE Advanced Electronics Center ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล ผู้ซึ่งอำนวยการด้านการทดลองครั้งแรก ซึ่งแสดงให้เห็นผลกระทบทางชีวภาพของการแพร่กระจายคลื่นความถี่วิทยุ

          “เมื่อเส้นประสาทหนึ่งถูกกระตุ้น เช่น เส้นประสาททางการมองเห็นถูกกระตุ้นด้วยแสง ทุกแหล่งกำเนิดไฟฟ้าก็จะเกิดกิจกรรมเชิงไฟฟ้าระบบประสาทได้ใช้ประโยชน์จากสนามไฟฟ้าเพื่อการทำงาน จึงคาดหวังได้ว่า จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนเกินบางชนิดที่จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ถ้าคุณป้อนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จูนอย่างเหมาะสมอันหนึ่งเข้าไป จะเป็นการไปป่วนการทำงานของระบบประสาทโยงไปถึงการป่วนการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายทุกชนิด ทุกกิจกรรม จากรายงานบางส่วนในทศวรรษ 1970 ของผมพบว่า เมื่อนำหัวใจของกบให้สัมผัสกับเครื่อง EM ที่ถูกทำให้ กระเพื่อม (Modulated) จะส่งผลให้หัวใจกบเต้นผิดปกติ (Arrhythmias) ถึงขั้นหยุดเต้นได้ ผมยังแสดงให้เห็นถึงว่าความถี่ EM ยังไปเปิดสิ่งกีดขวางในหลอดเลือดสมองได้ด้วย นี่ก็หมายถึงว่า สารต่างๆในเลือดสามารถรั่วเข้าสู่ระบบที่เสถียรภาพอย่างสูงในสมองได้”

          ไมเคิล รีแพโคลี (Michael Repacholi) เป็นผู้ประสานงานให้กับแผนกการแผ่รังสีและสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพของ WHO จากปี 1996-2006 “การศึกษา Interphone ถูกริเริ่มโดยหน่วยงาน International Agency on Cancer ของ WHO โดยมีการศึกษา 16 กรณีใน 13 ประเทศ เพื่อพิจารณาว่าการใช้โทรศัพท์มือถือ เป็นที่มาของมะเร็งในศีรษะ หรือคอ ใช่หรือไม่ พวกเราคงต้องรอจนกว่า ผลการศึกษาของ Interphone จะถูกตีพิมพ์มา สิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นได้ดีที่สุดว่า ผลน่าจะออกมาอย่างไร ให้ดูได้จากงานศึกษาร่วมกันของอังกฤษและยุโรปเหนือ ซึ่งครอบคลุมกรณีศึกษามากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ พวกเขาพบพยานหลักฐานเล็กน้อยของการเป็นมะเร็งศีรษะหรือคอในหมู่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต่ำกว่า 10 ปี เป็นไปไม่ได้ที่จะสรุปผลอะไรในตอนนี้ เกี่ยวกับความเสี่ยงของผู้ใช้โทรศัพท์นานกว่า 10 ปี”

          โอลเล โจแฮนสัน (Olle Johansson) ศาสตราจารย์ที่สถาบัน Karolinska Institute และ Royal Institute of Technology ที่สวีเดน ได้เฝ้าสังเกตผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มนุษย์สร้างขึ้นต่อสุขภาพ ตั้งแต่ทศวรรษ 1980

          “ในทศวรรษ 1940 ร้านขายรองเท้าเด็กจะมีเครื่องเลือกรองเท้าให้พอดี ซึ่งใช้เครื่อง X-ray แรงสูง และนาฬิกาข้อมือ ในทศวรรษ 1950 ก็สว่างได้ในความมืด เนื่องจากมันถูกดเคลือบสีกัมมันตรังสี ในเวลาเดียวกันนักวิทยาศาสตร์และหมอเริ่มตระหนักรู้ว่า แสงอาทิตย์ที่อบอุ่นและสวยงาม จริงๆแล้วอาจเป็นอันตรายต่อเซลล์ และ DNA ของเรา นำไปสู่การพัฒนาเป็นมะเร็งผิวหนัง...เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในเมื่อตลอด 24 ชั่วโมง เราปล่อยให้ทั้งร่างกายของเราและลูกๆของเรา รับการแผ่สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างสารพัดตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ของเรา คำถามนี้น่าคิดยิ่งขึ้นและสำคัญกว่าที่เคย มันขึ้นอยู่กับสังคมของเรา , รัฐบาลของเรา , รัฐสภาของเรา , ผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบจะต้องตอบคำถามนี้ให้ได้”

สาเหตุและผู้สนับสนุน

          ต้องเข้าใจก่อนว่า โทรศัพท์มือถือไม่ใช่บุหรี่ มีกลไกที่พิสูจน์ได้ว่า บุหรี่ก่อมะเร็ง แม้คุณจะถนอมเนื้อตัวเรื่องสุขภาพแค่ไหนแต่ยังไม่มีวิธีการที่จะพิสูจน์ได้ว่า โทรศัพท์มือถือก่อสาเหตุเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่มีวิธีการพิสูจน์ให้เห็นเป็นจริงได้ โดย ไมเคิล คุนดี (Michael Kundi) จากสถาบันสิ่งแวดล้อมสุขภาพแห่งมหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ นครเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า “ไม่มีพยานหลักฐานเจ๋งๆ ว่ามันมีผลต่อสุขภาพ ไม่อย่างนั้น พวกเราก็คงล้มป่วยกันเป็นใบไม้ร่วงแล้ว แต่มีข้อน่าคิดอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่ว่าจะมองแง่ไหน EMF ไม่ใช่ตัวต้นเหตุของมะเร็ง มันไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในแบบเดียวกับที่บุหรี่เป็น แต่การแผ่คลื่นนั้นอาจเป็นตัว “สนับสนุนส่งเสริม” ให้เกิดมะเร็ง ทำให้เซลล์ที่มีแนวโน้มจะก่อมะเร็งเบ่งบานและร่วมวงกับองค์ประกอบอื่นๆที่ทำให้เกิดมะเร็ง”

          ขณะที่แวดวงนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ เอ่ยอ้างว่าโทรศัพท์มือถือไม่มีผลเสี่ยงต่อสุขภาพแต่อย่างใด ไมเคิล คุนดี และคนอื่นๆยังสงสัยว่า การแพร่คลื่นจากโทรศัพท์มือถือเมื่อใช้นานๆ มันน่าจะนำไปสู่ความเสี่ยงที่มากขึ้นต่อการเกิดมะเร็งสมอง

          สำหรับเรื่อง Electro-Hypersensitivity ท่ามกลางการศึกษาอย่างจำกัดต่อผู้ที่ทุกข์ทรมานจาก EHS (ผู้ซึ่งลังเลที่จะนำพา ตัวเองไปอยู่ท่ามกลางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นชั่วโมงๆ) มีข้อบ่งชี้ว่า ความถี่ EMF ของโทรศัพท์มือถือมีผล ต่อจิตใจของพวกเขาบางคน ทั้งคนที่แจ้งว่า มีอาการ EHS และคนที่ไม่มีอาการ (ถึงแม้ว่าคนใช้ EHS แสดงออกไม่ได้ดี ไปกว่าการคิดเอาเอง เมื่อถูกถามว่า พวกเขาถูกรบกวนด้วย EMF หรือไม่)

          ในปี 2001 บรรดาแพทย์ได้ระบุอาการของ แคเธอรีน วูลแลมส์ (Catherrine Woollams) ชาวอังกฤษอายุ 22 ปี ว่าป่วยด้วยโรค Glioblastoma (เนื้องอกประกอบด้วย หรือเกิดจากเยื่อโพรงประสาท) แบบที่ได้รับการศึกษาว่า เกี่ยวพันกับการแพร่คลื่น EMF พ่อของเธอคือ คริสโตเฟอร์ วูลแลมส์ (Christopher Woollams) ได้ศึกษาเรื่องชีวเคมี (Biochemistry) ที่ออกซฟอร์ด ซึ่งเขาเชี่ยวชาญด้านไวรัส และมะเร็ง ก่อนที่ย้ายไปทำงานด้านโฆษณาในต้นทศวรรษ 1990 เขาช่วยพัฒนา การรณรงค์นำเสนอบริการ One-2-One ซึ่งเป็นบริการโทรศัพท์มือถือดิจิตอลแรกสุดเจ้าหนึ่งในอังกฤษ หลังจากลูกสาวของเขามีอาการดังว่า เขาได้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการกุศล CANCERactive ที่ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการกับมะเร็ง ต่อมา แคเธอรีน วูลแลมส์ เสียชีวิตเมื่อปี 2004

          คริสโตเฟอร์ วูลแลมส์ มีความเห็นค่อนข้างปักใจเชื่อในเรื่องความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งเพราะใช้โทรศัพท์มือถือ เขากล่าวว่าลูกสาวของเขาสูบบุหรี่ ไม่ค่อยชอบกินอะไรมาก และทำมาหากินโดยใช้โทรศัพท์มือถือ จะโทษว่าโทรศัพท์ มือถือทำให้เธอเสียชีวิตได้หรือไม่ เขากล่าวว่า เขาไม่คิดว่าจะมีส่วน “แต่มันก็ไม่มีสาเหตุอื่นใดอีก”

          เขาคิดว่า การวิจัยไม่ควรมุ่งไปที่มะเร็งสมองอย่างเดียว เขากล่าวว่า “มันเป็นการยากมากๆที่จะพิสูจน์ว่ามันมีความเกี่ยวพันกันโดยตรง” เขาเชื่อว่า การวิจัยควรมุ่งไปที่ความเป็นไปได้ที่ EMF ได้ทำลายกระบวนการปกป้องของร่างกายทั้งร่าง เขาแนะนำว่า การอยู่ในทะเลแห่ง EMF ผนวกกับองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆเช่น การรับสารระเหยพิษทางเคมี โภชนาการที่แย่ๆรวมๆกันส่งผลต่อสุขภาพของเรา พร้อมทั้งเสริมว่า “ผมกังวลอย่างยิ่งว่าโทรศัพท์มือถือจะลดทอนระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) ของร่างกาย โทรศัพท์มือถือเพิ่มปัญหาและนำไปสู่เนื้องอกที่สมอง ควรจะได้มีการติดประกาศเตือนการใช้โทรศัพท์มือถือเหมือนกับที่ทำในบุหรี่”

          การเฝ้าสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างโทรศัพท์มือถือและความเสี่ยงต่อสุขภาพ ยังคงเป็นเรื่องยากสาหัสและหาข้อสรุปไม่ได้ การศึกษาเรื่องมะเร็งสมองยิ่งยากที่จะทำขึ้นไปอีก การเกิดขึ้นหายาก และอาจต้องใช้เวลานับสิบๆปีที่จะแสดงอาการ แต่มันก็เกิดจริงๆการศึกษาแทบทั้งหมดออกไปทางเนื้องอกที่ร้ายแรงเช่น Glioma (เนื้องอกประกอบด้วยเยื่อโครงประสาท) หรือเนื้องอกอ่อนๆเช่น Meninglioma (เนื้องอกซึ่งเกิดจากเซลล์ของเยื่อหุ้มประสาทชั้นกลาง)หรือประสาทการได้ยินหรือส่งเสียง บ้างก็มุ่งไปที่เนื้องอกที่ต่อมน้ำลาย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่พบความเกี่ยวพันกันระหว่างโทรศัพท์มือถือกับมะเร็งต่างๆเหล่านี้ แต่บางคนก็เจอ เลนนาร์ต ฮาร์เดล (Lennart Hardell) จากแผนกวิทยาการเนื้องอกของ University Hospital in Orebro ในสวีเดน พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อเนื้องอกประกอบด

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459